top of page

การเคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            การ ปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บทกำหนดกรอบให้ ทุกภาคส่วนของสังคมยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน โดยกรอบที่สำคัญในการดำรงตนอย่างเหมาะสมของประชาชน คือการยึดมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด หากประชาชนทุกคนรู้ถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และต่างปฏิบัติได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ประชาชนในชาติย่อมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และชาติบ้านเมืองก็จะพัฒนาและเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

            สิทธิของตนเองและผู้อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การ ปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเองภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ โดยไม่กระทบสิทธิบุคคลอื่น ย่อมได้ชื่อว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีส่วนนำพาบ้านเมืองให้พัฒนา ในที่นี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติตนในการรักษาและเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและ ผู้อื่น ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ ดังนี้

1. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นที่มีต่อครอบครัว
            ครอบครัวประกอบด้วยพ่อแม่ลูก ทุกครอบรัวมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในหลายประเด็นด้วย กัน โดยเฉพาะเรื่องการใช้ความรุนแรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม หมายความว่า พ่อ แม่ และลูกจะต้องไม่ใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เป็นธรรม กรณีระหว่างสามีภรรยาจะต้องเคารพและรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน ไม่ตัดสินปัญหาโดยใช้กำลัง กรณีระหว่างบุตรกับบิดามารดา บุตรต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดามารดา บิดามารดาจะต้องอบรมสั่งสอนบุตรโดยใช้เหตุผล ไม่ใช้การแก้ไขพฤติกรรมลูกด้วยการเฆี่ยนตี เลี้ยงลูกด้วยรักความเข้าใจ และใช้สิทธิเสรีภาพในการแสวงหาความสุขส่วนตัว แต่ต้องอยู่ในขอบเขตและำไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนหรือสร้างปัญหาใด ๆ ให้แก่บิดามารดา
2. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นทีมีต่อชุมชนและสังคม
            สมาชิก ทุกคนในสังคมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำรงชีวิตในสังคม โดยสิทธิดังกล่าวจะต้องไม่ละเมิดสิทธิของสมาชิกคนอื่นในสังคม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสิทธิของตนเองที่มีต่อชุมชนบางประการ ดังนี้
      1) เสรีภาพในเคหสถาน ชาวไทยทุกคนย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน ที่จะสามารถอาศัยและครอบครองเคหสถานของตนโดยปกติสุข ไม่ว่าจะเกิดจาการเช่าหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพในสิทธินี้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐหากจะต้องเข้าไปดำเนินการตามกฏหมายใด ๆ เช่น การตรวจค้นเคหสถานของประชาชนก็จะทำการมิได้ เว้นแต่จะมีหมายค้นที่ออกโดยศาลเท่านั้น
     2) เสรีภาพในหารเดินทางและการติดต่อสื่อสาร ชาวไทยทุกคนมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปในที่ต่าง ๆบนผืนแผ่นดินไทยได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย และสามารถเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดก็ได้ในประเทศไทย รวมทั้งชาวไทยทุกคนสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นทาง จดหมาย โทรศัพท์ หรืออินเทอร์เน็ต
     3) เสรีภาพในการนับถือศาสนา สมาชิกทุกคนในสังคมมีสิทธิ เสรีภาพที่จะนับถือศาสนาแตกต่างกันได้ ซึ่งบุคคลอื่นในสังคมรวมทั้งรัฐจะต้องให้ความเคารพสิทธิเสรีภาพในเรื่องนี้ ด้วย
     4) เสรีภาพในทางวิชาการ เยาวชนไทยทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาขึ้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้คนไทยทุกคนยังมีสิทธิในการที่จะศึกษาค้นหว้าหรือทำวิจัยตามที่ต้อง การ โดยไม่ขัดต่อกฏหมาย
     5)เสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ หมาย ถึง ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมแต่ต้องเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และต้องไม่รบกวนสิทธิของผู้อื่น การปราศจากอาวุธนั้น หมายรวมถึง ห้ามทุกคนที่มาร่วมชุมนุมพกพาอาวุธเข้ามามาในที่ขุมนุมเด็กขาด บุคคลใดพกพาอาวุธเข้ามาในที่ขุมนุม บุคคลนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญในกรณีที่ได้กล่าวมาข้างต้น
     6) สิทธิเสรีภาพในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุกคนย่อมมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และร่วมสืบสานศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของประเทศชาติเพื่อ ให้ดำรงอยู่้ต่อไปกับอนุชนรุ่นหลัง
     7) สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ โดยเสรีภาพในหารประกอบอาชีพจะต้องไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เช่น ผู้ประกอบการจะต้องเคารพและซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค และไม่เอาเปรียบผู้บริโภค เป็นต้น

3. การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นที่มีต่อประเทศชาติ
     1) สิทธิในการมีส่วนร่วม ใน ที่นี้ หมายถึง สิทธิการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติ ราชการด้านการปกครอง อันมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของคนในสังคมโดยตรง
     2) สิทธิที่จะฟ้องร้องหน่อยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ประชาชนมีสิทธิที่จะฟ้องร้องหน่วยงานต่าง ๆเหล่านี้ให้รับผิดชอบ หากการกระทำใด ๆหรือการละเว้นการกระทำใด ๆของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนต่อศาลปกครอง
     3) สิทธิที่จะต่อต้านโดยสันติวิธี การกระทำใดจะที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติได้ในรัฐธรรมนูญ เช่นการต่อต้านการทำปฏิวัติรัฐประหาร เป็นสิ่งที่ประชาชนมีสิทธิที่จะออกมาต่อต้าน แต่ต้องเป็นไปโดยสันติวิธี

แนวทางการปฏิบัติตนในการเคารพสิทธิของตนเองและผู้ื่อื่น
       การปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเองและผู้อื่นในสังคม เป็นสิ่งที่ช่วยจัดระเบียบให้กับสังคมสงบสุข โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
       1. เคารพสิทธิของกันและกัน โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ื่อื่น สามารถแสดงออกได้หลายประการ เช่น การแสดงความคิดเห็น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ื่อื่น เป็นต้น
       2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้สิทธิของตนเอง
       3. เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐ ธรรมนูญ เช่น สิทธิเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพในเคหสถาน เป็นต้น
       4. ปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การเสียภาษีให้รัฐเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศ เป็นต้น

ผลที่ได้รับจากการกฏิบัติตนเคารพสิทธิของตนเองและผู้ื่อื่น
     1. ผลที่เกิดกับประเทศชาติ หากประชาชนมีความสมัครสมานรักใคร่สมัคคี ไม่มีความแตกแยก ไม่แบ่งเป็นพวกเป็นเหล่า บ้านเมืองก็จะสงบสุขเกิดสวัสดิภาพ บรรยากาศโดยรวมก็จะสดใส ปราศจากการระแวงต่อกัน การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น นักลงทุน นักท่องเที่ยวก็จะเดินทางมาเยือนประเทศของเราด้วยความมั่นใจ
     2. ผลที่เกิดขึ้นกับชุมชนหรือสังคม เมื่อประชาชนในสังคมรู้จักสิทธิของตนเอง และของคนอื่น ก็จะทำพาให้ชุมชนหรือสังคมเกิดการพัฒนา เมื่อสังคมมั่นคงเข้มแข็งก็จะมีส่วนทำให้ประเทศชาติเข้มแข็ง เพราะชุมชนหรือสังคมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศชาตบ้านเมืองโดยรวม
     3. ผลที่เกิดขึ้นกับครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันแรกของสังคม เมื่อครอบครัวเข้มแข็ง และอบรมสั่งสอนให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนรู้บทบาท สิทธิ เสรีภาพของตนเองและปฏิบัติตามที่กฏหมายและรัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครองได้ อย่างเคร่งครัด โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของสมาชิกอื่นในสังคม ก็จะนำพาให้สังคมและประเทศชาติเข้มแข็งตามไปด้วย

 

 

 

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

bottom of page